สะเก็ดเงิน โรคกรรมพันธุ์ที่คนไทยต่างก็ไม่อยากเป็น

สำหรับผู้คนในสังคมทุกวันนี้ หลาย ๆ คนอาจหลงลืม โรคสะเก็ดเงิน หรือที่เรียกว่าโรคเรื้อนกวาง กันไปแล้ว ทั้ง ๆ ที่ อุบัติการณ์ของโรคนี้ ส่งผลกระทบต่อจิตใจของผู้ป่วยและผู้คนในสังคมรอบข้างโดยตรง เรียกได้ว่าหากใครที่เป็นโรคนี้แล้ว สังคมอาจรังเกียจไม่อยากเข้าใกล้ ทั้ง ๆ ที่ไม่ใช่เป็นโรคติดต่อ แต่เป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ และเชื่อหรือไม่ว่า ในประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคนี้เทียบต่อประชากรจำนวน 100 คนจะมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ถึง 2 คน หรือเท่ากับคนไทยมีผู้ป่วยเป็นโรคนี้ประมาณ 1 ล้านคนเลยทีเดียว

โรคสะเก็ดเงิน เป็นโรคของการเรียนรู้ และผู้ป่วยควรจะต้องได้รับความรู้เกี่ยวกับโรคนี้อย่างยิ่ง โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเริ่มปรากฏอาการผื่นขึ้น ใน 2 ช่วงอายุ ที่เริ่มเป็นคือ อายุประมาณ 22 ปี และ 55 ปี ในวัยผู้ใหญ่พบที่ช่วงอายุ 27-60 ปี ทั้งในเพศชายและเพศหญิง ส่วนในเด็กอายุเฉลี่ยที่พบ คือ 8 ปี และไม่น้อยกว่า 15 ปี

สำหรับความผิดปกติที่เกิดขึ้นผู้ป่วยจะเริ่มรู้สึกว่า มีผื่นหรือรอยแดงอยู่บนร่างกายของเขา ตามหนังศีรษะ ใบหน้า แขน นิ้ว มือ หลัง และบริเวณฝ่าเท้า จะทำให้ผู้ป่วยเริ่มวิตกจริต ไม่อยากที่จะเปิดเผยตัวเอง มีผลต่อจิตใจและอาชีพ หน้าที่ การงาน ที่สำคัญผู้ป่วยโรคนี้ที่เป็นผู้ใหญ่ จะไม่แสดงอาการใด ๆ ปรากฏในวัยเด็กหรือวัยรุ่นเลย

โรคสะเก็ดเงินนี้ถือเป็นโรคที่เกี่ยวกับการทำงานที่ผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ซึ่งส่งผลอย่างมากต่อผิวหนังของผู้ป่วย โดยสิ่งที่เกิดขึ้นก็คือระบบภูมิคุ้มกันนั้น สร้างเซลล์ผิวหนังเร็วเกินไป ซึ่งเป็นสิ่งที่ทำให้ผิวหนังต้องถูกแทนที่วันเว้นวันเลยทีเดียว เมื่อมันเร็วกว่าปกติมาก ก็ส่งผลทำให้ผิวหนังเป็นเกล็ดหรือมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งจะทำให้เกิดอาการคัน และหงุดหงิดเป็นอย่างมาก ผู้ป่วยโรคสะเก็ดเงินนั้น จะต้องจัดการกับความหงุดหงิดและความคันที่เกิดขึ้นบ่อย ๆ ซึ่งเป็นภาระทางใจและก่อให้เกิดความเสียหายต่าง ๆ ตามมามากมาย

สะเก็ดเงิน นั้นมีรากฐานมาจากพันธุกรรมและเป็นโรคที่เกิดตามกรรมพันธุ์ ซึ่งก็หมายความว่า คนไข้นั้นจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าใครในครอบครัวของเขาที่เป็นโรคนี้มาก่อน ในทางกลับกันมันมีการส่งต่อผ่านสายโลหิต เมื่อคนไข้นั้นรู้ว่าตนเองเป็น สะเก็ดเงิน แล้ว มักจะได้รับกำลังใจในการใช้ชีวิตให้เป็นปกติและเข้าหาแนวทางใหม่ของชีวิต ซึ่งหมายถึงการทำความเข้าใจในโรค การใส่ใจกับการออกแดดในปริมาณมากเกินไป การเริ่มกินอาหารที่มีประโยชน์ และหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดเพื่อที่จะลดความเสี่ยงของโรคให้เป็นอันตรายน้อยลง และที่สำคัญควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยและรักษาจากแพทย์อย่างสม่ำเสมอ