ประเภทของการขายเหล็กที่ทำมาใช้งานมีอะไรบ้าง

เหล็กหนึ่งในวัสดุที่ทรงพลังและมีความสำคัญต่องานอุตสาหกรรมมากมาย แต่ทราบหรือไม่ ถึงแม้ว่าหน้าตาคล้ายกันจนถูกคนส่วนใหญ่เรียกกันว่า เหล็ก เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วประเภทของการขายเหล็กและคุณสมบัติของเหล็ก เหล่านั้นอาจต่างกัน และเหมาะสมกับการใช้งานแตกต่างประเภทกันออกไป มาทำความรู้จักกับชนิดของเหล็กกันว่า เหล็กมีกี่ประเภท โดยเฉพาะชนิดของที่นำมาขายเหล็กที่ใช้ในอุตสาหกรรมกันบ่อยๆ นั้นเรียกว่าเหล็กอะไรกันบ้าง

เหล็กโดยเฉพาะที่ใช้งานอุตสาหกรรม อาจแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ได้ 2 ประเภทตามการพิจารณาดูคาร์บอนที่อยู่ในเหล็ก คือ เหล็กหล่อ (Cast Iron) และ เหล็กกล้า (Steel) ซึ่ง 2 กลุ่มนี้ก็ยังสามารถแบ่งแยกย่อยและเลือกใช้งานตามคุณสมบัติของการขายเหล็กที่แตกต่างกันไปได้อีก ดังนี้

  1. เหล็กหล่อ (Cast Iron) เหล็กหล่อ เป็นประเภทเหล็ก ที่ผ่านการผสมผสานระหว่างเหล็กและคาร์บอน ปริมาณคาร์บอนมากกว่า 2% (หากใช้ในงานอุตสาหกรรมจะแนะนำที่ 2.5-4%) แม้จะมีความแข็งไม่เท่าเหล็กกล้า มีโอกาสเกิดการเปราะได้ง่ายกว่า แต่ก็ทนทานต่อการกัดกร่อนได้มากกว่าจากฟิล์มคาร์บอน มักนิยมขายเหล็กในกลุ่มงานอุตสาหกรรมสายผลิตมากกว่า เนื่องจากราคาต่ำกว่า และจุดหลอมต่ำ ขึ้นรูปง่าย

เหล็กหล่อขาว: มีความแข็ง สามารถต้านทานการสึกหรอได้ดี แต่มีโอกาสเปราะหรือแตกหักได้ง่ายเช่นกัน จึงนิยมใช้ในงาน ล้อรถไฟ จานเจียระไนอัญมณี ฯลฯ

เหล็กหล่อเทา: มีจุดหลอมเหลวและอัตราการหดตัวต่ำ ความแข็งไม่มาก สามารถนำไปดัดแปลงตามความต้องการได้ แต่จะนิยมนำไปใช้กับการเป็นส่วนประกอบของเครื่องจักร เช่น แท่นเครื่องจักร เครื่องมือกล ฯลฯ

เหล็กหล่ออบเหนียว: ความเค้นมากกว่าอีก 2 เหล็กก่อนหน้านี้ แถมยังมีความเหนียว ทนทานต่อแรงกระแทก แต่ก็ต้องยอมรับว่า หากจะใช้งานเหล็กชนิดนี้ก็จำเป็นต้องใช้พลังงานมาก จึงไม่ค่อยนิยมนำมาใช้ในงานอุตสาหกรรมเท่าไหร่นัก

นอกจากนี้ ก็จะมีประเภทเหล็กหล่ออื่นๆ ตามคุณสมบัติที่เพิ่มมากขึ้น อย่างการทนต่อความร้อนสูง เช่น เหล็กหล่อซิลิคอนสูง (ทนทั้งความร้อนและการกัดกร่อน) เหล็กหล่อผสมโครเมียม ฯลฯ หรือ ทนการกัดกร่อน เช่น เหล็กหล่อผสมนิเกิลสูง ฯลฯ

  1. เหล็กกล้า (Steel) เหล็กกล้า หรือ เหล็กบริสุทธิ์ เป็นประเภทการขายเหล็กที่แทบจะไม่มีสารใดมาผสม จึงมีคุณสมบัติของเหล็กค่อนข้างต่างจากเหล็กหล่อ ทั้งในเรื่องของความยืดหยุ่นและค่อนข้างเหนียวกว่า ทำให้ได้รับความนิยมในแวดวงอุตสาหกรรมพอสมควร เนื่องจากสามารถนำไปดัดแปลงและใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย โดยในวงการอุตสาหกรรมมักจะเลือกใช้เหล็กกล้าแปรรูปแบ่งกว้างๆ ได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่ เหล็กเส้นคอนกรีต และ เหล็กรูปพรรณ

เหล็กเส้นคอนกรีต

  • เหล็กเส้นกลม: เหล็กกล้าผ่านการรีดร้อน มีลักษณะเป็นเส้นผิวเรียบ มีขนาดและเส้นผ่านศูนย์กลางให้เลือกหลากหลาย นิยมใช้ในงานก่อสร้าง อย่าง งานก่อผนัง เหล็กปลอกตามคาน เสา ฯลฯ ส่วนใหญ่เหล็กประเภทนี้จะเป็นเหล็กเกรด SR24
  • เหล็กข้ออ้อย: เหล็กกล้าที่ถูกนำมาทำเป็นเส้นรอบนอกคล้ายเกลียวล้อมรอบ มีขนาดและเส้นผ่านศูนย์กลางให้เลือกหลากหลายเช่นกัน มักถูกนำไปใช้ในงานอุตสาหกรรมประเภทก่อสร้างเสริมคอนกรีตที่ต้องการความแข็งแรงสูงกว่าเหล็กเส้นกลม เช่น สร้างอาคาร เขื่อน สะพาน ฯลฯ เหล็กประเภทนี้มักเป็นเหล็กกล้าเกรด SD30 – SD50
  • เหล็กกล้าตีเกลียว: เส้นเหล็กประเภทนี้หน้าตาจะค่อนข้างโดดเด่น เหมือนมีเส้นเหล็กเล็กๆ หลายเส้นมารวมกันจนเป็นเส้นหนา (เส้นเหล็กเหล่านั้นคือเส้นเหล็กคาร์บอนสูงมากกว่า 2 เส้น) ส่วนใหญ่มักถูกหยิบไปใช้ในงานก่อสร้างอุตสาหกรรมเช่นกัน

เหล็กรูปพรรณ การขายเหล็กประเภทนี้จะขึ้นรูปมาสำเร็จพร้อมนำไปใช้งานต่อได้ทันที โดยการนำเหล็กแผ่นหรือเหล็กก้อนไปผ่านกระบวนการรีดร้อน เช่น ตัดเฉือน ขึ้นรูป ลากขึ้นรูป ฯลฯ ที่อุณหภูมิสูงถึงหลักพันองศาขึ้นไป

  • เหล็กแผ่นมีลวดลาย: เชื่อว่า หลายท่านน่าจะเคยเห็นเหล็กบนพื้นที่มีลวดลาย อย่าง เหล็กตีนไก่ ลายดอก ฯลฯ ผ่านตากันบ้าง เหล็กพวกนี้ก็ถือเป็นแผ่นเหล็กกล้าผ่านการปั๊ม นิยมนำไปใช้ติดบนทางเดินหรือพื้นรถบรรทุก เพื่อป้องกันการลื่นหรือน้ำขัง
  • เหล็กแผ่นแบน: เหล็กกล้าแผ่นแบนผิวหนาเรียบ มีขนาดและความหนาให้เลือกหลากหลาย หากใช้เหล็ก เหล็ก SKD11 คุณสมบัติ จะสามารถทนต่อแรงตึงสูง มักนำไปใช้เป็นลูกรีด ใบมีดตัดเหล็ก แม่พิมพ์ปั๊มขึ้นรูป ฯลฯ
  • ท่อเหล็ก: มีทั้งท่อเหล็กแป๊ปน้ำ อาบสังกะสีป้องกันสนิม ใช้สำหรับท่อลำเลียง งานเดินสายไฟ ขึ้นรูปต่างๆ ที่ต้องการความทนทาน อย่างกลางแจ้งหรือใกล้ทะเล ฯลฯ และท่อเหล็กดำ ใช้สำหรับ ท่อประปา ลำเลียง โครงสร้าง ทั่วไป
  • เหล็กรูปพรรณรีดร้อน: มีทั้งเหล็กโครงสร้างรูปตัว C H I, เหล็กฉาก สำหรับโครงสร้างอาคาร/ขนาดเล็ก โครงสร้างเบาะรถยนต์ ชั้นวางต่างๆ, เหล็กรางน้ำ หรือ เหล็กฉากพับ งานโครงสร้างและก่อสร้างต่างๆ
  • เหล็กรูปพรรณรีดเย็น: เหล็กรูปพรรณในรูปแบบต่างๆ หลังผ่านการรีดร้อนจนเป็นรูปร่างแล้วนำมารีดเย็น เพื่อเพิ่มความเรียบ แข็งแรงทนทาน แต่คุณสมบัติในส่วนของความเหนียวและยืดหยุ่นอาจลดลง

นอกจากการขายเหล็กรูปพรรณ 5 แบบนี้ ยังมีเหล็กรูปพรรณชนิดอื่นที่ถูกนำมาใช้ในอุตสาหกรรมอีกมากมาย เช่น เหล็กเพลาขาว หน้าตาคล้ายเหล็กเส้น ใช้ในงานอุตสาหกรรม ก่อสร้าง เฟอร์นิเจอร์ ฯลฯ